วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

นครวัด นครธม อลังการปราสาทขอม

นครวัด นครธม อลังการปราสาทขอม article


        ดินแดนกัมพูชาหรืออาณจักรขอมโบราณนั้นได้รับอิทธิพลทางศาสนาและวัฒนธรรมจากอินเดียเต็มตัวโดยเฉพาะความเชื่อตามคติในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ซึ่งเข้ามามีอิทธิพลก่อนพุทธศาสนาเนิ่นนานนักศาสนานี้ยกย่องกษัตริย์เสมอดั่งเทพเจ้าเรียกว่า“ลัทธิเทวราชา” นั่นหมายถึงว่า กษัตริย์คือตัวแทนของเทพเจ้าบนโลกมนุษย์และวิธีการยกย่องก็กระทำโดยการสร้างเทวสถานหรือเทวาลัยถวายให้ พระราชภารกิจของกษัตริย์ขอมทุกพระองค์ ที่จะต้องสร้างปราสาทหินเป็นเทวสถานแด่บรรพบุรุษหรือถวายแด่พระองค์เอง ฉะนั้นคำว่า“ปราสาท” ในที่นี้จึงมิได้หมายถึงปราสาทราชวังอันเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ แต่ปราสาทคือศาสนสถานอันถือเป็นที่ประทับของเทพเจ้าบนโลกมนุษย์ รูปแบบทางสถาปัตยกรรมก็จะต้องเป็นแบบ“ศาสนสถานบนฐานที่เป็นชั้น” และขุดสระหรือคูน้ำที่เขมรเรียกว่า“บาราย” ล้อมรอบมีลวดลายสลักหินเป็นรูปพญานาคซึ่งเป็นสัญลักษณ์น้ำและความอุดมสมบูรณ์ เปรียบเทียบได้กับเขาพระสุเมรุที่ล้อมรอบด้วยมหาสมุทร อันเป็นสัญลักษณ์ของระบบสุริยจักรวาลตามคติฮินดูนั่นหมายว่า ปราสาทหินที่กษัตริย์ขอมสร้างขึ้นก็คือศูนย์กลางของโลกและจักรวาลอันยิ่งใหญ่นั่นเอง
 
 พระเจ้าสุริยวรมันที่2  ทรงนับถือพระวิษณุหรือพระนารายณ์เป็นเทพเจ้าสูงสุดนั่นคือทรงเชื่อว่า ยามสวรรคตแล้วดวงวิญญาณของพระองค์จะหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับวิษณุเทพ  จึงสร้างมหาปราสาทนครวัดขึ้นเสียใหญ่โตโอฬาร เพื่อแสดงถึงความทะเยอทะยานอย่างสูงสุดในอันที่จะแสดงความบูชาคารวะแด่เทพวิษณุ พระเจ้าสุริยวรมันที่2 เสด็จมาจากเกาะชวามาครองกัมพูชาและเพื่อแสดงบุญญาบารมีรวมทั้งประกาศอิสระไม่ขึ้นต่อใคร ทรงได้นำเอาลัทธิไศเลนทร์หรือลัทธิเทวราชาจากชวามีหยั่งรากในอาณาจักรขอมด้วย ลัทธินี้ถือว่า“เทวะ” คือราชาและ“ราชา” ก็คือเทวะลงมาจุติเพื่อสร้างสันติสุขบนโลกมนุษย์การบูชา“เทวราชา” คือการสร้างรูปศิวลึงค์(แทนองค์ศิวเทพ) ประดิษฐานบนยอดเขาเช่นเดียวกับพระศิวะประทับบนเชาไกรลาศ ทั้งนี้เนื่องจาก“เทวราชา” มีรากฐานจากศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวะนิกายซึ่งนับถือพระศิวะหรือพระอิศวรเป็นเทพชั้นสูงสุดโดยจารึกว่าพระเจ้าสุริยวรมันที่2 ได้ทรงประดิษฐาน“กมรเต็งชกัตตราชะ” หรือเจ้าแห่งจักรวาลและมีพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมทั้งหลายเพราะศาสนาฮินดูยกย่องพราหมณ์เป็นตัวแทนของเทพเจ้าบนโลกมนุษย์ 
         มหาปราสาทนครวัดใช้เวลาในการก่อสร้างเกือบตลอดรัชสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่2 ยาวนานกว่า30 ปีประมาณกันว่าหินที่นำมาสร้างนั้นเป็นจำนวนหลายล้านลูกบาศก์เมตร มีแหล่งอยู่ที่เทือกเขาพนมกุเลนซึ่งทอดยาวอยู่ด้านหลังมหาปราสาทตรงปลายฟ้าที่อยู่ห่างออกไปกว่า50 กิโลเมตรใช้ช้างนับพันเชือกสำหรับขนหินถึงกระนั้นก็ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ยังมีการก่อสร้างเพิ่มเติมในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่7 และสลักภาพบนผนังระเบียงคตเพิ่มจนครบแปดภาพในสมัยของนักองค์จันทร์      (พ.ศ.2059-2099) แม่น้ำด้านหลังมหาปราสาทนครวัดคือแม่น้ำเสียมเรียบมีต้นน้ำจากยอดเขาพนมกุเลนหินที่นำมาจากเทือกเขาพนมกุเลนส่วนหนึ่งล่องแพมาตามลำน้ำสายนี้ มหาปราสาทนครวัดจึงเป็นสถานที่หลอมรวมดวงวิญญาณขององค์เทวราชาแห่งขอม นักโบราคดีบางท่านสันนิษฐานว่า เมื่อสร้างปรางค์ประธานเสร็จก็มีการนำประติมากรรมลอยตัวรูปพระวิษณุมาประดิษฐานไว้ตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดูไวษณพนิกายที่พระเจ้าชัยวรมันที่2 ทรงเคารพนับถือโดยเชื่อว่า พระองค์ก็คือพระวิษณุอวตารลงมาปกครองโลกรูปสลักจึงเป็นตัวแทนกษัตริย์และเทพเจ้าตามลัทธิเทวราชา ครั้นเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตก็นำพระศพมาฝังไว้ที่ใต้ฐานเทวรูป ณ ปรางค์องค์กลางเพื่อให้ดวงวิญญาณหลอมรวมกลับเป็นเทวะอีกครั้งและได้รับพระนามหลังสวรรคตว่า“บรมวิษณุโลก”และมหาปราสาทนครวัดในสมัยนั้นก็ถูกเรียกว่า“พระวิษณุโลก” ก่อนจะถูกเปลี่ยนชื่อเป็น“นครวัด” ในการเข้าชมมหาปราสาทนครวัด นอกจากโครงสร้างทางศิลปสถาปัตยกรรมแบบ“ปราสาทหิน” หรือ“เทวลัย” อันใหญ่โตโอฬารสมกับเป็นทิพยวิมานของเทพเจ้าบนโลกมนุษย์แล้วยังมีภาพจำหลักหรือแกะสลักลงบนผนังหินที่“ระเบียงคด”ชั้นนอกคำว่า“ระเบียงคด”หมายถึงทางเดินที่ผนังกั้นมีหลังคาคลุมคล้ายห้องยาวต่อเนื่องที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้อมรอบปราสาทชั้นในภาพจำหลักที่ระเบียงคดปราสาทนครวัดหรือเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า“ระเบียงประวัติศาสตร์” ได้สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้มาเยือนทุกยุคทุกสมัยมา
              
    ชาวขอมโบราณเชื่อว่า  ทิศตะวันออกเป็นทิศของการเกิด ความรุ่งเรือง มงคล ส่วนทิศตะวันตกเป็นทิศแห่งความตายนครวัดหันหน้าไปทางทิศตะวันตกด้วยเพื่อจุดมุ่งหมายเพื่อจะใช้เป็นที่ฝังพระศพของพระเจ้าชัยวรมันที่2 และสร้างในสมัยที่พระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ นครวัดจึงเป็นเทวลัยคือที่บูชาและประดิษฐานเทวรูปและเป็นที่บรรจุศพ-อัฐิ รวมความแล้วต้องจัดให้มหาปราสาทนครวัดเป็นมฤตกเทวาลัยคือเป็นที่บูชาและประดิษฐานเทวรูปและเป็นสุสานไปในตัว
                                                 
        นครวัดไม่ใช่เป็นเพียงสิ่งที่ก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและสูงส่งเลิศเลอในบรรดาปราสาทขอมทั้งหมดเท่านั้น มันยังเป็นเมืองในตัวของมันเองด้วยนั่นคือมีฐานะเป็นทั้งเมืองหลวงและศาสนสถานประจำรัชกาลของพระเจ้าสุริยวรมันที่2 ที่สร้างอุทิศถวายแก่พระวิษณุ
              
  ชาวเขมรนับถือ เทพอัปสรนครวัด เป็นเทพแห่งความดีงามเป็นเทพธิดาผู้พิทักษ์เทวสสถานในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ภาพลักษณ์ของเทพอัปสรในจินตนาการของชาวเขมรคือ  ความงดงามอ่อนช้อยและบริสุทธิ์ผุดผ่องทั่วทั้งนครวัด  มีเทพอัปสรประดับอยู่ทุกซอกทุกมุมนับรวมได้ถึง1500 องค์การแต่งกายองค์ทรงเครื่องของพวกเธอก็คือภาพสะท้อนวัฒนธรรมการแต่งกายของสตรีในราชสำนักขอมซึ่งเกรียงไกรในสุวรรณภูมิเมื่อพันปีก่อน(ก่อนมีสุโขทัย) “อัปสรา”หรืออัปสรในความหมายของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูก็คือเหล่าเทพธิดาที่คอยดูแลศาสนสถานและเป็น“บาทบริจาริกา” หรือผู้รับใช้เทพเจ้าแห่งศาสนสถานนั้น และคำว่า”อัปสร” มีความหมายว่า“ผู้กระดิกในน้ำ” เพราะเทพอัปสรเกิดขึ้นจากพิธีกรรมการกวนเกษียรสมุทร


ที่มา : http://www.beehappytravel.net

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น