วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

ทุงดอกกระเจียว อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม

ทุ่งดอกกระเจียว ป่าหินงาม ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอ 
เทพสถิต จ.ชัยภูมิ ที่นี่นอกจะเป็นทุ่งดอกกระเจียวถือเป็นไฮไลต์ที่เด่นที่สุดของการมาท่องเที่ยวที่นี่
การมาเที่ยวชมที่นี่ นักท่องเที่ยว จะได้สัมผัสกับทุ่งบัวสวรรค์หรือดอกกระเจียว 
ราชินีแห่งมวลไม้ดอกของขุนเขาป่าหินงาม 
ออกดอกสีชมพูอมม่วง 
ที่จะ ทยอยผลิบานเป็นระยะเวลา 2 เดือน ที่ออกปีละครั้ง ชูช่อล้อสายลมและสายหมอก ขึ้นเต็มทั่วผืนป่า
ทุ่งดอกกระเจียว ถือเป็นไฮไลต์ท่องเที่ยวช่วงฤดูฝนแห้งแล้งจะกลับคืนสู่ความเขียวขจีและแต่งแต้ม

ด้วยความ สดใส ของกระเจียวที่ผิดอกสีชมพูเต็มทุ่งหญ้ากว้าง ด้วยความงดงามตระการตาของดอก
สีชมพูอมม่วงขึ้นเต็มไป 
ทั่วผืนป่า ตัดกับพื้นสีเขียวขจีของหญ้าเพ็ก และโขดหินธรรมชาติ อีกทั้งรูปลักษณ์สวยงาม 
วิจิตรพิสดารทำให้เป็น ทุ่งดอกกระเจียวในอุทยานแห่งชาติป่าหินงาม เป็นทุ่งดอกกระเจียวที่ใหญ่ที่สุด
 และงดงามที่สุดในประเทศไทย
ดอกกระเจียวจะพากันบานอยู่
การเดินทางมาชมทุ่งดอกกระเจียวที่สวยงามที่สุด คือ ในช่วงเช้าที่มีสายหมอกบางๆ 
ปกคลุม แต่ถ้าหากมาในช่วง บ่ายที่ฝนเพิ่งตกใหม่ๆ ก็จะเจอบรรยากาศแบบนี้ได้เช่นกัน
 นอกจากนี้การเที่ยวชมเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ทุ่งดอกกระเจียว แล้ว 
ยังสามารถชมแหล่งท่องเที่ยวบริเวณข้างเคียงได้อีกด้วย เช่น ป่าหินงาม ซึ่งจะมีก้อนหินรูป
 ลักษณ์แปลกตา นรูปถ้วยรางวัลฟุตบอลฟีฟ่า รูปดอกเห็ดเขาประตูชุมพล น้ำตกเทพประทาน
ทุ่งดอกกระเจียวป่าหินงาม
เทศกาลทุ่งดอกกระเจียวบาน เทศกาลทุ่งดอกกระเจียวบาน
เทศกาลทุ่งดอกกระเจียวบาน เทศกาลทุ่งดอกกระเจียวบาน
1.ลานหินงาม
เป็นที่มาของชื่อ ป่าหินงามมีสภาพเป็นลานหินกว้างครอบคลุมพื้นที่กว่า 1,000 ไร่ 

ล้อมรอบด้วยแนวป่าเต็งรัง บริเวณ ลานหินเต็มไปด้วยก้อนหินขนาดใหญ่รูปทรงแปลกตา 
เช่น รูปสัตว์ ปราสาทโบราณ หินรูปถ้วย รางวัล ฟุตบอลฟีฟ่า รูปดอกเห็ด;ฯลฯ 
ซึ่งกิดจากการกัดเซาะของลมและน้ำมานานนับล้านปี
2.สุดแผ่นดิน
อยู่ห่างจากทุ่งดอกกระเจียวประมาณ 300 เมตร เป็นจุดสูงสุดของ อช. ป่าหินงาม 

และเป็นหน้าผาสูงสุดชายขอบ ด้านตะวันตกของที่ราบสูงโคราช มีความสูง 846 
ม.ทางซ้ายมือเป็นที่ราบในเขต จ.พบุรี เบื้องหน้าเป็นทิวเขาและ ผืนป่า 
ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกาและทางขวามือเป็นพื้นที่ของ จ. เพชรบูรณ์
 สิ่งที่ดูพิเศษสุดของจุดชมวิว แห่งนี้ี้คือ ลักษณะของผาหินที่ยื่นออกไปในอากาศคล้ายกับ
จุดชมวิวผาหำหด แต่มีขนาดใหญ่กว่าเมื่อขึ้น ไปยืน บนหน้าผาจะมองเห็นทิวทัศน์เบื้องล่าง
ได้กว้างไกล
3.ชมทะเลหมอกสุดแผ่นดิน(ช่วงปลายฝนต้นหนาว)
จุดชมทิวทัศน์สุดแผ่นดินงดงามที่สุดในช่วงปลายฝนต้นหนาว 

เพราะมีสายหมอกปกคลุมผืนป่าเบื้องล่างเป็นบริเวณ กว้าง 
ทำให้ที่นี่เป็นจุดชมทะเลหมอกที่สวยงามและอยู่ใกล้กรุงเทพฯ อีกแห่งหนึ่ง


ที่มา : http://www.paiduaykan.com

นครวัด นครธม อลังการปราสาทขอม

นครวัด นครธม อลังการปราสาทขอม article


        ดินแดนกัมพูชาหรืออาณจักรขอมโบราณนั้นได้รับอิทธิพลทางศาสนาและวัฒนธรรมจากอินเดียเต็มตัวโดยเฉพาะความเชื่อตามคติในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ซึ่งเข้ามามีอิทธิพลก่อนพุทธศาสนาเนิ่นนานนักศาสนานี้ยกย่องกษัตริย์เสมอดั่งเทพเจ้าเรียกว่า“ลัทธิเทวราชา” นั่นหมายถึงว่า กษัตริย์คือตัวแทนของเทพเจ้าบนโลกมนุษย์และวิธีการยกย่องก็กระทำโดยการสร้างเทวสถานหรือเทวาลัยถวายให้ พระราชภารกิจของกษัตริย์ขอมทุกพระองค์ ที่จะต้องสร้างปราสาทหินเป็นเทวสถานแด่บรรพบุรุษหรือถวายแด่พระองค์เอง ฉะนั้นคำว่า“ปราสาท” ในที่นี้จึงมิได้หมายถึงปราสาทราชวังอันเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ แต่ปราสาทคือศาสนสถานอันถือเป็นที่ประทับของเทพเจ้าบนโลกมนุษย์ รูปแบบทางสถาปัตยกรรมก็จะต้องเป็นแบบ“ศาสนสถานบนฐานที่เป็นชั้น” และขุดสระหรือคูน้ำที่เขมรเรียกว่า“บาราย” ล้อมรอบมีลวดลายสลักหินเป็นรูปพญานาคซึ่งเป็นสัญลักษณ์น้ำและความอุดมสมบูรณ์ เปรียบเทียบได้กับเขาพระสุเมรุที่ล้อมรอบด้วยมหาสมุทร อันเป็นสัญลักษณ์ของระบบสุริยจักรวาลตามคติฮินดูนั่นหมายว่า ปราสาทหินที่กษัตริย์ขอมสร้างขึ้นก็คือศูนย์กลางของโลกและจักรวาลอันยิ่งใหญ่นั่นเอง
 
 พระเจ้าสุริยวรมันที่2  ทรงนับถือพระวิษณุหรือพระนารายณ์เป็นเทพเจ้าสูงสุดนั่นคือทรงเชื่อว่า ยามสวรรคตแล้วดวงวิญญาณของพระองค์จะหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับวิษณุเทพ  จึงสร้างมหาปราสาทนครวัดขึ้นเสียใหญ่โตโอฬาร เพื่อแสดงถึงความทะเยอทะยานอย่างสูงสุดในอันที่จะแสดงความบูชาคารวะแด่เทพวิษณุ พระเจ้าสุริยวรมันที่2 เสด็จมาจากเกาะชวามาครองกัมพูชาและเพื่อแสดงบุญญาบารมีรวมทั้งประกาศอิสระไม่ขึ้นต่อใคร ทรงได้นำเอาลัทธิไศเลนทร์หรือลัทธิเทวราชาจากชวามีหยั่งรากในอาณาจักรขอมด้วย ลัทธินี้ถือว่า“เทวะ” คือราชาและ“ราชา” ก็คือเทวะลงมาจุติเพื่อสร้างสันติสุขบนโลกมนุษย์การบูชา“เทวราชา” คือการสร้างรูปศิวลึงค์(แทนองค์ศิวเทพ) ประดิษฐานบนยอดเขาเช่นเดียวกับพระศิวะประทับบนเชาไกรลาศ ทั้งนี้เนื่องจาก“เทวราชา” มีรากฐานจากศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวะนิกายซึ่งนับถือพระศิวะหรือพระอิศวรเป็นเทพชั้นสูงสุดโดยจารึกว่าพระเจ้าสุริยวรมันที่2 ได้ทรงประดิษฐาน“กมรเต็งชกัตตราชะ” หรือเจ้าแห่งจักรวาลและมีพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมทั้งหลายเพราะศาสนาฮินดูยกย่องพราหมณ์เป็นตัวแทนของเทพเจ้าบนโลกมนุษย์ 
         มหาปราสาทนครวัดใช้เวลาในการก่อสร้างเกือบตลอดรัชสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่2 ยาวนานกว่า30 ปีประมาณกันว่าหินที่นำมาสร้างนั้นเป็นจำนวนหลายล้านลูกบาศก์เมตร มีแหล่งอยู่ที่เทือกเขาพนมกุเลนซึ่งทอดยาวอยู่ด้านหลังมหาปราสาทตรงปลายฟ้าที่อยู่ห่างออกไปกว่า50 กิโลเมตรใช้ช้างนับพันเชือกสำหรับขนหินถึงกระนั้นก็ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ยังมีการก่อสร้างเพิ่มเติมในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่7 และสลักภาพบนผนังระเบียงคตเพิ่มจนครบแปดภาพในสมัยของนักองค์จันทร์      (พ.ศ.2059-2099) แม่น้ำด้านหลังมหาปราสาทนครวัดคือแม่น้ำเสียมเรียบมีต้นน้ำจากยอดเขาพนมกุเลนหินที่นำมาจากเทือกเขาพนมกุเลนส่วนหนึ่งล่องแพมาตามลำน้ำสายนี้ มหาปราสาทนครวัดจึงเป็นสถานที่หลอมรวมดวงวิญญาณขององค์เทวราชาแห่งขอม นักโบราคดีบางท่านสันนิษฐานว่า เมื่อสร้างปรางค์ประธานเสร็จก็มีการนำประติมากรรมลอยตัวรูปพระวิษณุมาประดิษฐานไว้ตามคติความเชื่อของศาสนาฮินดูไวษณพนิกายที่พระเจ้าชัยวรมันที่2 ทรงเคารพนับถือโดยเชื่อว่า พระองค์ก็คือพระวิษณุอวตารลงมาปกครองโลกรูปสลักจึงเป็นตัวแทนกษัตริย์และเทพเจ้าตามลัทธิเทวราชา ครั้นเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตก็นำพระศพมาฝังไว้ที่ใต้ฐานเทวรูป ณ ปรางค์องค์กลางเพื่อให้ดวงวิญญาณหลอมรวมกลับเป็นเทวะอีกครั้งและได้รับพระนามหลังสวรรคตว่า“บรมวิษณุโลก”และมหาปราสาทนครวัดในสมัยนั้นก็ถูกเรียกว่า“พระวิษณุโลก” ก่อนจะถูกเปลี่ยนชื่อเป็น“นครวัด” ในการเข้าชมมหาปราสาทนครวัด นอกจากโครงสร้างทางศิลปสถาปัตยกรรมแบบ“ปราสาทหิน” หรือ“เทวลัย” อันใหญ่โตโอฬารสมกับเป็นทิพยวิมานของเทพเจ้าบนโลกมนุษย์แล้วยังมีภาพจำหลักหรือแกะสลักลงบนผนังหินที่“ระเบียงคด”ชั้นนอกคำว่า“ระเบียงคด”หมายถึงทางเดินที่ผนังกั้นมีหลังคาคลุมคล้ายห้องยาวต่อเนื่องที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าล้อมรอบปราสาทชั้นในภาพจำหลักที่ระเบียงคดปราสาทนครวัดหรือเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า“ระเบียงประวัติศาสตร์” ได้สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้มาเยือนทุกยุคทุกสมัยมา
              
    ชาวขอมโบราณเชื่อว่า  ทิศตะวันออกเป็นทิศของการเกิด ความรุ่งเรือง มงคล ส่วนทิศตะวันตกเป็นทิศแห่งความตายนครวัดหันหน้าไปทางทิศตะวันตกด้วยเพื่อจุดมุ่งหมายเพื่อจะใช้เป็นที่ฝังพระศพของพระเจ้าชัยวรมันที่2 และสร้างในสมัยที่พระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ นครวัดจึงเป็นเทวลัยคือที่บูชาและประดิษฐานเทวรูปและเป็นที่บรรจุศพ-อัฐิ รวมความแล้วต้องจัดให้มหาปราสาทนครวัดเป็นมฤตกเทวาลัยคือเป็นที่บูชาและประดิษฐานเทวรูปและเป็นสุสานไปในตัว
                                                 
        นครวัดไม่ใช่เป็นเพียงสิ่งที่ก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและสูงส่งเลิศเลอในบรรดาปราสาทขอมทั้งหมดเท่านั้น มันยังเป็นเมืองในตัวของมันเองด้วยนั่นคือมีฐานะเป็นทั้งเมืองหลวงและศาสนสถานประจำรัชกาลของพระเจ้าสุริยวรมันที่2 ที่สร้างอุทิศถวายแก่พระวิษณุ
              
  ชาวเขมรนับถือ เทพอัปสรนครวัด เป็นเทพแห่งความดีงามเป็นเทพธิดาผู้พิทักษ์เทวสสถานในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู ภาพลักษณ์ของเทพอัปสรในจินตนาการของชาวเขมรคือ  ความงดงามอ่อนช้อยและบริสุทธิ์ผุดผ่องทั่วทั้งนครวัด  มีเทพอัปสรประดับอยู่ทุกซอกทุกมุมนับรวมได้ถึง1500 องค์การแต่งกายองค์ทรงเครื่องของพวกเธอก็คือภาพสะท้อนวัฒนธรรมการแต่งกายของสตรีในราชสำนักขอมซึ่งเกรียงไกรในสุวรรณภูมิเมื่อพันปีก่อน(ก่อนมีสุโขทัย) “อัปสรา”หรืออัปสรในความหมายของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูก็คือเหล่าเทพธิดาที่คอยดูแลศาสนสถานและเป็น“บาทบริจาริกา” หรือผู้รับใช้เทพเจ้าแห่งศาสนสถานนั้น และคำว่า”อัปสร” มีความหมายว่า“ผู้กระดิกในน้ำ” เพราะเทพอัปสรเกิดขึ้นจากพิธีกรรมการกวนเกษียรสมุทร


ที่มา : http://www.beehappytravel.net

วิถีชีวิตชาวบ้านในทะเลสาบอินเล

วิถีชีวิตชาวบ้านในทะเลสาบอินเล

นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วม ดูเหมือนว่าแปลงเกษตรลอยน้ำจะกลายเป็นที่สนใจของใครหลายคน และก็มีบางชุมชนริมน้ำที่ได้ปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากขึ้นกันบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการทำนาลอยน้ำริมแม่น้ำท่าจีน ของคุณสุพรรณ เมธสาร เกษตรกรบ้านสามชุก จ.สุพรรณบุรี ซึ่งได้นำไม้ไผ่ที่มีอยู่ในสวนมาทำแพ และใช้ฝากล่องโฟมใส่ผลไม้เก่ามาเจาะรู สำหรับใส่กระถางปลูก และใช้ดินเลนรวมถึงวัชพืชในน้ำเป็นวัสดุปลูก โดยจากการทดลองก็พบว่าได้ผลผลิตดีทีเดียว อีกทั้งยังไม่ต้องดูแลรักษามากด้วย


รูปจาก http://www.rakbankerd.com/kaset/Rice/862_1.jpg

นอกจากนี้ก็ยังมีคุณกิมฮวด ไม้เนื้อทอง และชาวบ้านในชุมชนราชธานีอโศก ริมแม่น้ำมูลที่ได้ทดลองทำแพผักและแปลงปลูกข้าวลอยน้ำ โดยใช้เศษโฟมทำเป็นทุ่น ก่อนใช้สแลน ไม้ไผ่ และผักตบชวามาทำเป็นแปลงปลูก ซึ่งก็ช่วยทำให้ชาวบ้านมีอาหารไว้กินยามน้ำท่วมได้อย่างพอเพียง

http://www.ddproperty.com/whats-up/%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแปลงเกษตรลอยน้ำจะฟังดูเป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับใครหลายคน แต่หากเราลองมองออกไปนอกประเทศและได้เรียนรู้วิถีชีวิตของชาวน้ำ ที่อยู่กับทะเลสาบอย่างชาวอินเล ประเทศพม่า ก็จะพบว่าชาวบ้านที่นั่นมีภูมิปัญญาในการทำแปลงเกษตรลอยน้ำมาเป็นเวลานับร้อยๆปีมาแล้ว

รูปจากhttp://www.trekkingthai.com/cgi-bin/webboard/generate.pl?content=4298&board=backpacker http://www.bloggang.com/data/sweetsea/picture/1160849124.jpg

วิธีการทำแปลงลอยน้ำของเขาก็คือ การนำหญ้าไซซึ่งขึ้นหนาแน่นบริเวณชายฝั่งทะเลสาบมาตัดเป็นแพ ให้มีความกว้างขนาด 1 เมตร ยาวประมาณ 10 เมตร จากนั้นจึงนำไม้ไผ่ลำยาวๆมาปักลงไปที่ก้นทะเลสาบเพื่อเป็นเสายึดแพหญ้าไว้ จากนั้นก็จะโกยดินเลนก้นทะเลสาบ รวมถึงพืชและสาหร่ายใต้น้ำขึ้นมาโปะบนแปลงหญ้า โดยจะใช้หญ้าและดินเลนมาโปะซ้อนๆกันขึ้นไปจนแพหญ้ามีความหนาประมาณ 50 เซนติเมตร ก็จะได้แปลงสำหรับเพาะปลูก และได้กลายเป็นแหล่งเพาะปลูกมะเขือเทศที่ใหญ่ที่สุดในพม่าเลยทีเดียว

รูปจากhttp://www.allmyanmar.com/myanmarmore/Inle-Lake.htmlรูปจาก http://www.trekkingthai.com/cgi-bin/webboard/generate.pl?content=4298&board=backpacker

ทั้งนี้ทั้งนั้น น่าเสียดายที่การผลิตเพื่อขายเป็นจำนวนมากๆ อาจส่งผลทำให้เกษตรกรต้องใช้สารเคมี ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก จนทำให้มีหลายฝ่ายออกมาคัดค้านการทำเกษตรลอยน้ำของชาวอินเล แต่อย่างน้อยวิถีชีวิตของชาวอินเลก็น่าเป็นตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาในการใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศซึ่งแวดล้อมไปด้วยน้ำได้อย่างดี และน่าจะเป็นประโยชน์ไม่น้อย หากเรารู้จักเลือกรับปรับใช้ประสบการณ์ความรู้เหล่านี้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต รวมถึงทรัพยากรต่างๆที่มีอยู่ในประเทศของเรา

รูปจากhttp://www.allmyanmar.com/myanmarmore/Inle-Lake.html

ที่สำคัญสภาพปัญหาจากการทำแปลงเกษตรลอยน้ำของชาวอินเล ยังเป็นบทเรียนสำคัญที่สะท้อนให้เราเห็นว่า การคิดทำแปลงเกษตรลอยน้ำเพื่อตอบสนองความต้องการทางอาหาร หรือเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนหรือชุมชนเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ ทว่าเราควรตระหนักถึงกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะคนกับธรรมชาติต่างเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน และก็ต้องมีความสัมพันธ์ พึ่งพาอาศัยเกื้อกูลกันอยู่เสมอ ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไหร่ หรือสถานการณ์บนโลกนี้จะแปรปรวนไปมากเท่าใดก็ตาม

 

ที่มา : http://sathai.org

ชมอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว


อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว




น้ำตกพลิ้ว

น้ำตกพลิ้ว
น้ำตกพลิ้ว

น้ำตกพลิ้ว

น้ำตกพลิ้ว

น้ำตกพลิ้ว




          ร้อน ๆ แบบนี้ต้องหาที่คลายร้อนให้ชุ่มฉ่ำปอดซะหน่อยแล้ว เพราะฉะนั้น วันนี้เราจะพาเพื่อน ๆ ไปเย็นกาย พร้อมกับดื่มด่ำความงดงาม ซึ่งธรรมชาติสร้างสรรค์ได้อย่างลงตัวที่ "น้ำตกพริ้ว" ตั้งอยู่ในจังหวัดจันทบุรี อะ ๆ แต่ก่อนอื่นเราขอพาไปทำความรู้จักกับ "อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว" กันก่อนนะจ๊ะ...

          อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอเมือง อำเภอแหลมสิงห์ อำเภอขลุง และอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 134.50 ตารางกิโลเมตร หรือ 84,062.50 ไร่ ประกอบด้วยป่าที่สมบูรณ์ เทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ทำให้มีอากาศจะเย็นสบายตลอดทั้งปี ยอดเขาสลับซับซ้อนสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 20-924 เมตร จุดสูงสุดของพื้นที่อยู่ที่ ยอดเขามาบหว้ากรอก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 924 เมตร และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสาย อยู่ห่างจากจังหวัดจันทบุรีประมาณ 14 กิโลเมตร ถนนลาดยางตลอดสายทำให้สะดวกสบายในการไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ 

อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว

น้ำตกพลิ้ว

          ทั้งนี้ อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว ถูกเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 11 ของประเทศไทย โดยใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติเขาสระบาป แต่ต่อมา นายผจญ ธนมิตรามณี หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาสระบาป ได้ทำหนังสือขอเปลี่ยนชื่อ อุทยานแห่งชาติเขาสระบาป เป็น อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว เนื่องจาก "น้ำตกพลิ้ว" เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามตามธรรมชาติ มีน้ำตกตลอดปี อีกทั้งยังเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป และเป็นจุดเด่นของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2525 เห็นชอบให้เปลี่ยนชื่อเป็น "อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว"

อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว

อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว

อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว

          ส่วน น้ำตกพลิ้ว เป็นน้ำตกขนาดใหญ่และสวยงาม มีน้ำตลอดปี ประกอบด้วยสายธาร 2 สาย สายหนึ่งไหลลดหลั่นผ่านซอกหินผา อีกสายหนึ่งมีขนาดเล็กกว่า แต่ทิ้งตัวลงมาจากผาสูง 20 เมตร ทั้งสองสายไหลมารวมกันในแอ่งน้ำใสสะอาด มากสามารถมองเห็นพื้นล่างซึ่งส่วนใหญ่เป็นหินและทรายในระดับลึกกว่า 2 เมตร ภายในบริเวณน้ำตกและลำคลอง มีปลาใหญ่น้อยหลายชนิดอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นที่ตื่นตาตรึงใจกับฝูงปลาแก่ผู้ที่ไปท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ โดยเฉพาะ "ปลาพลวงหิน" เหล่านี้

          โดยคำว่า "พลิ้ว" กล่าวกันว่าเป็นภาษาชอง ซึ่งเป็นเจ้าของถิ่นเดิม แปลว่า ทราย หรือ หาดทราย แต่เข้าใจกันว่า น้ำตกพลิ้ว คงจะได้ชื่อมาจากต้นไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งชอบขึ้นในดินปนทราย เป็นไม้เถามีดอกเป็นผลเล็กขนาดลูกเกด สีเหลืองอมแดง ขึ้นทั่วไปในแถบนี้ 

น้ำตกพลิ้ว

น้ำตกพลิ้ว

          น้ำตกพลิ้ว เป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญของ อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว ซึ่งประชาชนชาวจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดอื่น ๆ รู้จักกันดี อีกทั้ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เสด็จประพาสน้ำตกแห่งนี้หลายครั้ง ในระหว่างปี พ.ศ. 2417-2424 และทรงยกย่องว่าเป็นน้ำตกที่งดงามที่สุด ในบรรดาน้ำตกที่พระองค์เคยเสด็จประพาส 

          ขณะเดียวกัน บริเวณ น้ำตกพลิ้ว ยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ซึ่งทาง อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว ได้จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ สภาพป่า และพรรณพืชต่าง ๆ ไว้ให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้


     น้ำตกพลิ้ว

น้ำตกพลิ้ว
น้ำตกพลิ้ว

น้ำตกพลิ้ว

น้ำตกพลิ้ว

น้ำตกพลิ้ว




          ร้อน ๆ แบบนี้ต้องหาที่คลายร้อนให้ชุ่มฉ่ำปอดซะหน่อยแล้ว เพราะฉะนั้น วันนี้เราจะพาเพื่อน ๆ ไปเย็นกาย พร้อมกับดื่มด่ำความงดงาม ซึ่งธรรมชาติสร้างสรรค์ได้อย่างลงตัวที่ "น้ำตกพริ้ว" ตั้งอยู่ในจังหวัดจันทบุรี อะ ๆ แต่ก่อนอื่นเราขอพาไปทำความรู้จักกับ "อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว" กันก่อนนะจ๊ะ...

          อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอเมือง อำเภอแหลมสิงห์ อำเภอขลุง และอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 134.50 ตารางกิโลเมตร หรือ 84,062.50 ไร่ ประกอบด้วยป่าที่สมบูรณ์ เทือกเขาสูงสลับซับซ้อน ทำให้มีอากาศจะเย็นสบายตลอดทั้งปี ยอดเขาสลับซับซ้อนสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 20-924 เมตร จุดสูงสุดของพื้นที่อยู่ที่ ยอดเขามาบหว้ากรอก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 924 เมตร และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสาย อยู่ห่างจากจังหวัดจันทบุรีประมาณ 14 กิโลเมตร ถนนลาดยางตลอดสายทำให้สะดวกสบายในการไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ 

อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว

น้ำตกพลิ้ว

          ทั้งนี้ อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว ถูกเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 11 ของประเทศไทย โดยใช้ชื่อว่า อุทยานแห่งชาติเขาสระบาป แต่ต่อมา นายผจญ ธนมิตรามณี หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาสระบาป ได้ทำหนังสือขอเปลี่ยนชื่อ อุทยานแห่งชาติเขาสระบาป เป็น อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว เนื่องจาก "น้ำตกพลิ้ว" เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามตามธรรมชาติ มีน้ำตกตลอดปี อีกทั้งยังเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป และเป็นจุดเด่นของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2525 เห็นชอบให้เปลี่ยนชื่อเป็น "อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว"

อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว

อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว

อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว

          ส่วน น้ำตกพลิ้ว เป็นน้ำตกขนาดใหญ่และสวยงาม มีน้ำตลอดปี ประกอบด้วยสายธาร 2 สาย สายหนึ่งไหลลดหลั่นผ่านซอกหินผา อีกสายหนึ่งมีขนาดเล็กกว่า แต่ทิ้งตัวลงมาจากผาสูง 20 เมตร ทั้งสองสายไหลมารวมกันในแอ่งน้ำใสสะอาด มากสามารถมองเห็นพื้นล่างซึ่งส่วนใหญ่เป็นหินและทรายในระดับลึกกว่า 2 เมตร ภายในบริเวณน้ำตกและลำคลอง มีปลาใหญ่น้อยหลายชนิดอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นที่ตื่นตาตรึงใจกับฝูงปลาแก่ผู้ที่ไปท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ โดยเฉพาะ "ปลาพลวงหิน" เหล่านี้

          โดยคำว่า "พลิ้ว" กล่าวกันว่าเป็นภาษาชอง ซึ่งเป็นเจ้าของถิ่นเดิม แปลว่า ทราย หรือ หาดทราย แต่เข้าใจกันว่า น้ำตกพลิ้ว คงจะได้ชื่อมาจากต้นไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งชอบขึ้นในดินปนทราย เป็นไม้เถามีดอกเป็นผลเล็กขนาดลูกเกด สีเหลืองอมแดง ขึ้นทั่วไปในแถบนี้ 

น้ำตกพลิ้ว

น้ำตกพลิ้ว

          น้ำตกพลิ้ว เป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญของ อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว ซึ่งประชาชนชาวจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดอื่น ๆ รู้จักกันดี อีกทั้ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เสด็จประพาสน้ำตกแห่งนี้หลายครั้ง ในระหว่างปี พ.ศ. 2417-2424 และทรงยกย่องว่าเป็นน้ำตกที่งดงามที่สุด ในบรรดาน้ำตกที่พระองค์เคยเสด็จประพาส 

          ขณะเดียวกัน บริเวณ น้ำตกพลิ้ว ยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ซึ่งทาง อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว ได้จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ สภาพป่า และพรรณพืชต่าง ๆ ไว้ให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้


ที่มา : http://travel.kapook.com

ประวัติความเป็นมา ไก่เหลืองหางขาว

ประวัติความเป็นมา ไก่เหลืองหางขาว




คือ ไก่พื้นเมืองของไทยสายพันธุ์หนึ่ง ซึ่งพัฒนามาจากไก่บ้านพันธุ์กะตังอู หรือไก่อู มีมาพร้อมคนไทยโบราณ พบคนนำไก่มาชนกันในสมัยสุโขทัย เมื่อชาวบ้านว่างเว้นจากการทำไร่ทำนา ใครใคร่ทำอะไรก็ได้ ก็นำไก่มาเล่นชนไก่ จากชาวบ้าน ชาวไร่ ชาวนา แพร่กระจายกันสู่หมู่ขุนนาง เจ้าขุน เจ้านาย และต่อมาได้พัฒนาเป็นกีฬาพระราชา เช่น ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเจ้าเสือ และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นต้น ไก่เหลืองหางขาวที่นิยมเป็นพันธุ์แท้ดั้งเดิม ต้องเป็นไก่บ้านกร่าง บ้านหัวเทจังหวัดพิษณุโลกเพราะไก่พิษณุโลกเป็นไก่ในประวัติศาสตร์ที่ครั้งหนึ่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสมัยทรงพำนักอยู่ในประเทศพม่าได้ทรงนำไก่เหลืองหางขาวจากพิษณุโลก ซึ่งเป็นเมืองพระราชบิดาของพระองค์ไปชนกับไก่ของพระมหาอุปราชา
ไก่เหลืองหางขาว เป็นไก่ฉลาดปราดเปรียว อึด ทน เป็นไก่เชิงแปดกระบวนท่า ไก่เหลืองหางขาวจึงชนะไก่พม่ามาตลอด ครั้งหนึ่งไก่ไทยชนกับไก่พม่าหน้าพระที่นั่ง ไก่เหลืองหางขาวของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตีไก่เหลืองโยดอกหมากหางดำของพระมหาอุปราชาคอหักล้มลงและแพ้ ทำให้พระมหาอุปราชทรงอับอาย กล่าวแก้ว่า ไก่เชลยตัวนี้เก่งจริง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ทรงกล่าวตอบโต้ด้วยความภาคภูมิว่า "ไก่เชลยตัวนี้อย่าว่าแต่จะตีอย่างกีฬาในวังเหมือนวันนี้เลย ตีพนันเอาบ้านเมืองกันก็ยังได้" จากพระราชดำรัสที่ทรงกล่าวโดยไม่สะทกสะท้านและมั่นพระทัยในไก่เหลืองหางขาวของพระองค์ ทำให้พระมหาอุปราชาทรงเกรงกลัว หาหนทางกลั่นแกล้งและกำจัด เป็นผลทำให้สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้เอกราชจากพม่าได้ ไก่เหลืองหางขาวจึงมีชื่อเสียงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไก่เจ้าเลี้ยง” และ ไก่พระนเรศวร” ซึ่งปัจจุบันชาวพิษณุโลกมีความภาคภูมิใจ และหวงแหนในสมบัติล้ำค่าทางประวัติศาสตร์นี้มาก จึงมีการอนุรักษ์และพัฒนาไก่สายพันธุ์นี้มาโดยตลอด ในประเทศที่มีกีฬาชนไก่จะรู้จักไก่ไทยเหลืองหางขาวเป็นอย่างดี



ที่มา : http://detboon.blogspot.com/

สวนสัตว์เขาเขียว


สวนสัตว์เขาเขียว

ยามว่างวันหยุดหากลูก ๆ เอาแต่นอนดูการ์ตูน เล่นเกมคอมพิวเตอร์ แล้วก็เบื่อที่จะออกไปเดินแต่ห้าง ลองชักชวนกันไปเที่ยวสวนสัตว์บ้างดีไหม  เด็ก ๆ จะได้ทั้งความสนุกสนาน  ได้ทั้งความรู้ที่น่าตื่นตากว่านั่งดูเอาจากจอทีวี  แล้วยังช่วยสานสัมพันธ์ให้ครอบครัวอบอุ่นกับกิจกรรมร่วมกันนี้ได้อีกด้วย

ทริปนี้จะชวนขับรถพาเด็ก ๆ มาเที่ยว "สวนสัตว์เปิด" กัน  ที่เรียกว่าเป็นสวนสัตว์เปิดก็เพราะสวนสัตว์แบบนี้เนี่ยจะมีพื้นที่กว้างขวางเพียงพอที่จะให้สัตว์ได้มีสภาพความเป็นอยู่ที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติ  และถึงแม้จะต้องเลี้ยงสัตว์บางประเภทไว้ในกรงก็จะใช้กรงที่มีขนาดใหญ่  เรียกว่าจัดให้สัตว์ได้อยู่กันอย่างมีความสุขไม่อึดอัดคับแคบ  ในบ้านเราสวนสัตว์ในลักษณะนี้ก็คือ สวนสัตว์เปิดเขาเขียว นี่เอง



ที่ตั้งของสวนสัตว์เปิดเขาเขียวอยู่ใกล้ ๆ กับอ่างเก็บน้ำบางพระ จ.ชลบุรี  ถ้าออกจากกรุงเทพไปก็แนะนำว่าให้ใช้ถนนมอเตอร์เวย์ กรุงเทพ - ชลบุรี มาเลยจะสะดวกที่สุด
วิ่งตามมอเตอร์เวย์ผ่านด่านเก็บเงินมาทั้ง 2 ด่าน ด่านละ 30 บาท จนมาเจอป้ายอย่างในรูปก็เตรียมตัวชิดซ้ายไปตามป้าย " พัทยา " แล้วก็วิ่งเลียบโค้งไปทางซ้ายอย่างเดียว



พอเลี้ยวซ้ายมาแล้วก็วิ่งมาอีกราว 9 กม. ก็จะเจอป้ายชี้ทางแยกเข้าไปสวนสัตว์เปิดเขาเขียว
ทางเข้าตรงนี้สังเกตไม่ยาก เพราะจะมีสะพานลอยสำหรับรถข้ามอยู่ตรงปากทางพอดิบพอดี ตั้งแต่ที่เลี้ยวออกจากมอเตอร์เวย์มา สะพานนี้จะเป็นสะพานที่สอง



จากปากทางจะมีป้ายชี้ทางไปสวนสัตว์เป็นระยะ ก็วิ่งตามป้ายมาเรื่อยอีกราว 5 กม. ก็จะมาถึงทางเข้าสวนสัตว์เปิดเขาเขียวกันแล้ว



                
ตรงนี้ก็จ่ายค่าธรรมเนียมเข้าชมกันเลย ผู้ใหญ่คนละ 70 บาท เด็ก 15 บาท รถเก๋งคันละ 50 บาท  พิเศษสำหรับผู้สูงอายุ ถ้าอายุเกิน 60 ปีก็ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเข้าชม
แล้วก็อย่าลืมขอแผนที่สวนสัตว์จากเจ้าหน้าที่ติดรถไว้ด้วย   เอาแผนที่มาไม่ใช่ว่าต้องกลัวหลง เพราะถนนข้างในจะเป็นวันเวย์วิ่งเป็นวงแล้วก็มาออกที่เดิม  เพียงแต่จะได้เอาไว้อ้างอิงว่าตอนนี้อยู่แถว ๆ ไหนแล้ว
สวนสัตว์เปิดเขาเขียวเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ 8.00 - 18.00 น.

                  

เลยจากซุ้มขายบัตรเข้ามา ทางขวามือจะมีซุ้มอาหารยาวเรียงรายไปเลย นอกจากอาหารสำหรับคนมาเที่ยวที่ส่วนใหญ่จะเป็นพวกไก่ย่างส้มตำแล้ว ยังมีอาหารสำหรับจะหอบหิ้วเอาไปเลี้ยงสัตว์ข้างในด้วย  จะแวะซื้อตรงนี้เลยหรือจะเข้าไปซื้อข้างในอีกทีก็มีขายเหมือนกัน



เสร็จแล้วก็ขับรถตรงดิ่งเข้ามาเลย เห็นซุ้มประตูอย่างในรูปนี่ไม่ต้องเลี้ยวลอดเข้ามาเพราะเป็นซุ้มประตูของเก่า ให้วิ่งผ่านมาทางด้านขวาของซุ้มประตู แล้วไปเลี้ยวซ้ายตามป้ายอีกที
ส่วนใครจะเอาใจเด็ก ๆ วิ่งลอดซุ้มประตูชื่อสวนสัตว์เอาฤกษ์เอาชัยก็ตามสะดวก